ขายของออนไลน์ต้องรู้จัก ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย

เวลาไปกินข้าวตามร้านอาหารหรือซื้อสินค้าในที่ต่าง ๆ เคยสังเกตคำว่า VAT 7 % หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงอยู่บนบิลร้านอาหารหรือสินค้ากันหรือไม่ แล้วเคยสงสัยกันไหม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นคืออะไร  ใครเป็นผู้เก็บและใครต้องเป็นคนจ่าย สำหรับร้านค้าและผู้ประกอบการจำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มการทางสรรพกรหรือไม่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ การผิตสินค้าและการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่นร้านค้า ร้านอาหาร หรือผลิตภัฑณ์ต่าง ๆ ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการเรียกเก็บโดยกรรมสรรพกร โดยมีอัตราการเรียกเก็บอยู่ที่ 7 % การจด VAT หรือจดภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ร้านค้าและผู้ประกอบการที่มีการขายสินค้าหรือบริการ และมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใครเป็นคนต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

แม้ว่าเจ้าของกิจการและร้านค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูคเพิ่ม แต่ในความจริงแล้วเจ้าภาษีตัวนี้ “ผู้บริโภค” หรือลูกค้าก็คือคนที่ต้องจ่ายนั้นเอง ซึ่งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะมาใน 2 รูปแบบเด่น ๆ ก็คือ  1. ด้านการซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภาษีนี้จะถูกรวมมาในราคาสินค้าที่อยู่แล้ว โดยภาษีจะถูกแจกแจงมาในใบเสร็จรับเงินให้คุณทราบอีกครั้งโดยไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มจากราคาสินค้าเดิม  2. ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการรับประทานอาหารตามร้านอาหาร ซึ่งจะไม่ถูกรวมอยู่ในราคาอาหาร แต่จะมีการเรียกเก็บเพิ่มเมื่อลูกค้าต้องชำระเงินค่า ซึ่งจะเขียนมาในใบเสร็จว่า VAT 7% นั่นเอง

สำหรับผู้ประกอบการที่เกิดความไม่แน่ใจว่าธุรกิจของตนนั้นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ตรงนี้เรามีข้อมูลมาฝากสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพกร เป็นข้อมูลดี ๆ ให้ได้นำไปเตรียมตัวเตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับยื่นจดด้วยตัวเองได้เลย

ธุรกิจแบบไหนต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต้องยื่นขอจกทะเบียนภายใน 30 วันนับต้องแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ที่มีแผนงานที่ต้องมีการซื้อสินค้าหรือบริฏารที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ
  3. ผู้ประกอบการนอกประเทศไทยที่ได้ขายสินค้าหรือบริการภายในประเทศไทยเป็นปกติ ซึ่งต้องให้ตัวแทนเป็นผู้รับผิดชอบในการจดทะเบียน

ธุรกิจที่ไม่ต้องจกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถยื่นขอจดได้

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร หรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งภายในประเทศโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งนำ้มันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักรไทย

ธุรกิจที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยดเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกประเทศไทยและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศเป็นครั้งคราว ซึ่งต้องอยู่ในเงื่อนไขและข้อกำหนดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลเพิ่ม (ฉบับที่ 43 ) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536
  5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

วิธีการจดภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้อย่างไร

เอกสารที่จำเป็นสำหรับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม 

  1. แบบคำร้องขอจะทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ และ ภ.พ.01.0 จำนวน 3 ฉบับ
  2. เอกสารที่ตั้งประกอบการ ได้แก่

  • สัญญาเช่าอาคารที่ตั้งสถานประกอบการ
  • สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการ
  • สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
  • แผนที่ของสถานประกอบการและภาพถ่าย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
  • สามารถดูข้อมูลเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ เอกสารที่จำเป็นสำหรับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

สถานที่ยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม 

สำหรับเจ้าของกิจการและผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้ผ่าน 2 ช่องทางง่าย ๆ ดังนี้

  1. ยื่นคำขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรรมสรรพกร www.rd.go.th
  2. ยื่นคำขอจดภาษีมูลค่าด้วยเอกสาร ด้วยตนเองที่หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งสามารถแบ่งตามพื้นที่ได้ ดังนี้

  • สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • สถานประกอบการที่ต้องอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่ สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • สถานประกอบการที่มีหลานสาขา สามารถยื่นได้ที่ สำนักงานสรรพกรในพื้นที่ที่สถานประกอบการหลักตั้งอยู่
  • สถานประกอบการที่อยู่ในการควบคุมของสำนักบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถยื่นได้ที่  สำนักงานบริการธุรกิจขนาดใหญ่หรือยื่นผ่านสำนักงานสรรพกรในพื้นที่

สรุปได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่สรรพการจะเรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพกร แต่ความจริงแล้วผู้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งการยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังไม่สามารถทำผ่านทาง Fillgoods ได้ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นได้ผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมสรรพกรได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม