ชวนรู้จักผู้บริโภคกลุ่ม JOMO และ FOMO คืออะไร มาทำความรู้จัก เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าให้ธุรกิจติดจรวด

เทรนด์การตลาดบนสื่ออนไลน์ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คงจะเห็นภาพผู้คนเดินถือสมาร์ทโฟนในมือกันตลอดวลา ทั้งระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน กินข้าว เล่นเกม ดูหนัง รับข่าวสาร ทุกอย่างล้วนทำผ่านโซเชียลได้ทั้งสิ้น จนเกิดเป็นพฤติกรรมเสพติดโซเชียล มีเดีย      

แต่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเน้นการรับสื่อทางโซเชียล ก็มีผู้บริโภคที่ไม่ได้มีพฤติกรรมเสพติดโซเชียลด้วยเช่นกัน หนำซ้ำพฤติกรรมยังโน้มเอียงไปทางหลีกหนีจากโซเชียลอีกด้วย ซึ่งนักการตลาดได้แบ่งผู้บริโภคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ FOMO และ JOMO ที่จะเข้ามาท้าทายผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ในการวางแผนสื่อสารให้เจาะกลุ่มผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ


FOMO คืออะไร

FOMO มาจากคำว่า Fear of Missing Out แปลว่า ความกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง พฤติกรรมพื้นฐานของประชากรโลกในยุคดิจิตอล ที่เสพติดสารรับสื่อและข่าวสารทางโซเชียล มีเดียผ่านสมาร์ทโฟนหรือรวมถึงมีอาการติดมือถือตลอดเวลาที่เรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า” นั่นเอง  คนที่มีพฤติกรรมนี้มักจะกลัวการตกเทรนด์ ตกข่าวฮอตร้อนแรงที่กำลังเป็นประเด็นบนโลกอินเทอร์เน็ต

พฤติกรรมของกลุ่ม FOMO อาการมันเป็นยังไงนะ

ติดโทรศัพท์ มือถือเครื่องเดียทำได้ทุกอย่าง ไม่เพียงการรับข่าวสารบ้านเมือง ติดตามสินค้าลดราคา โปรโมทชั่น หรือดราม่าต่าง ๆ  แต่เพราะสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวสามารถเป็นได้ทุกอย่าง จึงทำให้ชาว FOMO ไม่มีความจำเป็นต้องเอามือถืออกห่างตัวแม้แต่น้อย

เพื่อนทักมาต้องรีบตอบ – ชาว FOMO ผู้ชื่นชาวการสื่อสารมักทนไม่ได้ที่จะตอบแชทสนทนาช้าไปแม้แต่วินาทีเดียว ดังนั้นหากชาว FOMO ได้ยินหรือได้เห็นหน้าจอแชทเด้งขึ้นมาเมื่อไหร่ พวกเขาจะรีบโต้ตอบอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าตอบช้าไปจะทำให้เขารู้สึกผิดนั่นเอง

อัปเดตชีวิตผ่านโซเชียล มีเดียตลอด  – ติดตามข่าวสารทันเหตุการณ์ก็ส่วนหนึ่ง แต่ชาว FOMO ย่อมพลาดไม่ได้ที่จะแชร์วิถีชีวิตตนเองผ่านโซเชียล มีเดีย ที่เพื่อนๆ ได้รับรู้โดยทั่วกันไม่ว่าจะกินข้าว ไปเที่ยวนอกสถานที่หรือเจอเรื่องสนุกที่คาดไม่ถึงก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม : Customer journey เช็คให้รู้ ดูให้ทันการเดินทางของผู้บริโภค เพื่อการต่อยอดธุรกิจ

FOMO ติดโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร  

เอาความเร็วมาช่วยกระตุ้น – เพราะชาว FOMO มีพฤติกรรมชอบเสพข่าวสารที่รวดเร็ว การนำโปรโมทชั่นลดราคาสินค้า ที่เอาราคามาเป็นข้อจำกัด อย่างโปรโมทลดราคาเฉพาะเที่ยงคืน หรือ Sale กระหน่ำเพียง 1 วัน จะช่วยกระตุ้นอาการอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้ลูกค้า FOMO กดสั่งซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว โดยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองต้องการสินค้าชิ้นนั้นจริงๆ ไหม รู้ตัวอีกทีก็โอนเงินไปเรียบร้อยซะแล้ว

โฆษณาโหนกระแส – เพราะชาว FOMO ไม่ชอบตกเทรนด์ แบรนด์ก็ไม่ควรตกเทรนด์ด้วยเช่นกัน หากช่วงไหนมีกระแสที่สามารถหยิบมาสร้างสีสันให้กับการทำสื่อโฆษณาได้ ก็ไม่ควรปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป เนื่องจากช่วยให้แบรนด์ดูทันสมัยไม่ตกเทรนด์ ยังมีโอกาสที่ชาว FOMO จะช่วยแชร์ Content หรือส่งต่อไปให้ชาว FOMO ด้วยกันอีกด้วย

Story ต้องมา  – ฟีเจอร์ Story บนแพลตฟอร์ม IG และ Facebook เป็นสิ่งที่ชาว FOMO ชื่นชอบ เนื่องจากสามารถอัปเดตและแชร์ได้เรียลไทม์ พร้อมลูกเล่นมากมายทั้งในรูปแบบ VDO และภาพถ่าย การที่แบรนด์หันมาใช้ฟีเจอร์นี้ในการนำเสนอสินค้า ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้า FOMO ให้มาเจอกับสินค้าของแบรนด์ได้


JOMO คืออะไร

JOMO ย่อมาจาก Joy of Missing Out หรือที่แปลว่า ความสุขที่ได้พลาดบางสิ่งบางอย่างไป JOMO เป็นขั้วตรงข้ามของ FOMO เป็นพฤติกรรมถอยห่างจากโซเซียล มีเดีย เพื่อเอาเวลาไปโฟกัสกับกิจกรรมรอบตัว ไม่ยึดติดว่าสมาร์ทโฟนเป็นทุกอย่างของชีวิตและคิดว่าชีวิตนี้หากพลาดกระแสไปสักอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิด

พฤติกรรมของกลุ่ม JOMO อาการมันเป็นยังไงนะ 

 โฟกัสกิจกรรมที่ไม่ต้องติดกับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา – ชาว JOMO ไม่โฟกัสกิจกรรมที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความเอียนการใช้โซเชียล มีเดีย จนต้องหาทางหลีกหนีออกมาโฟกัสกับกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา เช่น การออกไปเที่ยว อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

ไม่รู้สึกผิดที่จะตกเทรนด์ – เพราะชาว JOMO เกิดขึ้นจากอาการเบื่อโลกโซเชียลเป็นทุนเดิม ทำให้มีพฤติกรรมถอยห่างจากหรือตัดขาดจาดสื่อออนไลน์ พวกเขาจึงไม่รู้สึกผิดที่จะพลาดข่าวสารหรือยอมตกเทรนด์บางอย่างไป เพื่อที่จะมีเวลาพักผ่อนสบาย ๆ อย่างแท้จริง รวมถึงพวกเขาอาจจะตัดขาดการสนทนาผ่านแชท ตอบไลน์ ตอบ Inbox ช้าไปเป็นวัน ๆ โดยไม่รู้สึกผิดเลยก็ได้เช่นกัน

JOMO ถอยห่างโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร 

สร้างสื่อที่สามารถเสพได้พร้อมกับการทำกิจกรรมอื่น ถึงชาว JOMO จะเอาใจออกห่างจากโซเชีลยมีเดีย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถตัดอินเทอร์เน็ตออกไปจากชีวิตได้อยู่ดี โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าหรือความรู้ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบรนด์สามารถนำพฤติกรรมของชาว JOMO มาวิเคราะห์ พร้อมประยุกต์แนวทางสร้าง Content ที่จะสื่อสารไปถึงพวกเขาได้

Content SEO – นำทางให้ชาว JOMO มายัง Content ของแบรนด์ด้วย Google ผ่านการเสิร์ทค้นหาข้อมูลสินค้า หรือการค้นหาความรู้ต่างๆ โดยอาจจะเป็น Content ให้ความรู้ที่ตอบโจทย์ชาว JOMO พร้อม Tie – in สินค้า ของแบรนด์แบบเนียน ๆ ในช่วงท้าย แบบนี้ลูกค้าก็จะได้ทั้งความรู้พร้อมจดจำผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไปพร้อมกัน

Podcast – ฟังไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วยเพลินๆ ก็สะดวกดี สื่อที่ตอบโจทย์ชาว JOMO ที่เอาใจออกห่างแพลตฟอร์มโซเชียลไปโฟกัสกิจกรรมรอบตัว เหมือนกับการฟังวิทยุ เพียงแต่ Podcast สามารถเลือกฟัง Content ตามหัวข้อที่ต้องการได้อย่างอิสระ น่าจะถูกใจชาว JOMO ไม่น้อยทีเดียว


“โลกใบนี้ไม่ได้มีมนุษย์อยู่เพียงสัญชาติเดียวฉันใด พฤติกรรมผู้บริโภคก็ไม่ได้มาเพียงพฤติกรรมเดียวฉันนั้น”

นับว่าเป็นโจทย์ที่แบรนด์ต้องหาให้เจอว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์จะสามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคทั้ง FOMO และ JOMO ได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ Data ผสานไปกับการวางกลยุทธ์สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนงานบริการที่เอื้อให้ลูกค้าสามารถช้อปปิ้งได้อย่างสะดวก ตั้งแต่การซื้อสินค้า ชำระค่าสินค้า ส่งรายละเอียดที่อยู่ ให้ครบจบในขั้นตอนเดียวก็จะทำให้แบรนด์สามารถสร้างยอดขายเพิ่มได้

ติดอาวุธเสริมยอดขายได้อย่างเห็นผลด้วย Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ครอบคลุมทุกการจัดส่ง ตอบโจทย์ทุการขาย เสริมประสิทธิภาพการบริการหลังร้านอย่างแท้จริง ตั้งแต่การปิดการขาย จัดการสต๊อก จัดการออเดอร์ ไปจนถึงการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วได้มาตรฐาน สร้างประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจกับลูกค้าของแบรนด์ ยกระดับการทำธุรกิจออนไลน์อย่างแท้จริงด้วย Fillgoods