e-Commerce คืออะไร พร้อมโอกาสทางการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ที่คนขายออนไลน์ต้องรู้
หลายคนที่จะหันมาทำธุรกิจออนไลน์อาจจะยังมีคำถามมากมาย ธุรกิจ e-Commerce คืออะไร การเติบโตของธุรกิจนี้ยังจะมีโอกาสและเหมาะกับการลงทุนอยู่หรือไม่ ในวันที่หลายคนก็ทันมาทำธุรกิจออนไลน์เป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลักกันหมด ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักธุรกิจ e-Commerce และโอกาสทางการเติบโตในประเทศไทยกัน
e-Commerce คืออะไร
e-Commerce หรือที่รู้จักกันในชื่อ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกิจซื้อ – ขาย และเปลี่ยนสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งการซื้อขายทางออนไลน์เริ่มเป็นเทรนด์ที่หลายคนเคยใช้บริการกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ยุคที่อินเทอร์ได้รับการพัฒนาในช่วงแรก ๆ และยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เมื่อมีอินเทอร์เน็ตและสินค้าค้าในมือ การเริ่มเป็นเจ้าของธุรกิจ e-Commerce ก็ไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป
6 ประเภทธุรกิจ e – Commerce
- ธุรกิจ B2C ( Business to Consumer ) คือการทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยตรง เช่นการขายสินค้า เสื้อผ้า อาหาร เป็นต้น
- ธุรกิจ B2B (Business to Business) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างผู้ประกอบการและผู้ประกอบการ อย่างการขายส่งสินค้าจากโรงงานไปยังห้างร้านสำหรับนำไปขายให้ผู้บริโภค เป็นต้น
- ธุรกิจ B2G (Business to Government) คือการทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐ ซึ่งจะเป็นในด้านการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่จำเป็นสำหรับการใช้สอยภายในหน่วยงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- ธุรกิจ C2C (Consumer to Consumer) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างผู้บริโภคและผู้บริโภคด้วยกัน เช่นการซื้อ – ขาย สินค้ามือ 2 เป็นต้น
- ธุรกิจ G2C (Government to Consumer) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างภาครัฐและประชาชน เช่นการใช้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐผ่านทางอินเทอร์เน็ต การเสียภาษีออนไลน์ จดทะเบียนการค้า เป็นต้น
6. ธุรกิจ G2G (Government to Government) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างภาครัฐและภาครัฐ การทำข้อตกลงหรือการแรกเปลี่ยนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
โอกาสของธุรกิจ e – Commerce ในไทย โตติดอันดับ 1 ในอาเซียน
การเติบโตของธุรกิจ e-commerce ยังคงมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่พัฒนามากขึ้นในทุก ๆ วันและปริมาณประชาชนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะจากปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบาดของโรค Covid – 19 ทำให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2563 โดย ETDA (สำนักงานพัฒนาธุรกกรมทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เพิ่งเผยออกมาว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมง 25 นาที เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 1 ชั่วโมง 3 นาทีเลยทีเดียว
อีกทั้งรายงานผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปี 2562 ยังพบตัวเลขที่เป็นสัญญาณที่ดีอีกว่า ในปี 2562 ธุรกิจ e-commerce มีมูลค่าการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 4,027,277 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 กว่า 6.911 % และโตติดอันดับที่ 1 ในอาเซียนอีกด้วย
e – Commerce ไม่เพียงช่วยสร้างรายได้ แต่ยังช่วยขับเคลื่อนเศษฐกิจไทย
ในปี 2020 ที่ประชาชนหลายคนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการทำธุรกิจไปอย่างกะทันหันด้วยสถานการณ์ Covid – 19 ที่ทำให้เศรษฐกิจการซื้อขายสินค้าผ่านทางหน้าร้านต้องหยุดชะงัก แต่ด้วยเทคโนโลยี้อินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ก็ได้เปิดโอกาสให้เศษรฐกิจได้เดินหน้าต่อไปด้วยการหันมาทำธุรกิจ e – Commerce ซื้อ – ขายสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านทางออนไลน์แทน และได้กลายเป็นแนวทางธุรกิจและแนวทางการช้อปที่ประชาชนหลายคนปรับตัวให้สอดรับตามมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก
4 ประโยชน์ของ e-Commerce ต่อผู้ซื้อและผู้ขาย
- เพิ่มตัวเลือก ลดโอกาสผูกขาด
ธุรกิจ e-Commerce ช่วยเพิ่มตัวเลือกในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภคมาขึ้น เกิดสินค้าใหม่ ๆ ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อแข่งขันกันในตลาด ลดโอกาสผูกขาดสินค้าของนายทุนเจ้าใหญ่ ๆ
- เปรียบเทียบราคา ได้สินค้าราคาถูก
เมื่อไม่มีการผูกขาดสินค้า ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกมากยิ่งขึ้น มีสินค้าที่หลากหลายให้เปรียนเทียบกันในด้านราคาและคุณภาพ เกิดการแข่งขันภายในธุรกิจที่ต้องผลิตของที่คุณภาพดีและราคาเหมาะสมออกมาสู่ท้องตลาดมากขึ้น
- กระตุ้นเศรษฐกิจในยุคโควิด ให้ก้าวต่อไปได้
แม้การขายสินค้าผ่านทางหน้าร้านจะต้องหยุดชะงัก แต่การขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ยังคงคึกคัก ผู้ขายสามารถทำธุรกิจและส่งตรงสินค้าสู่ผู้บริโภคได้ง่าย และอาจจะขยายฐานลูกค้าออกไปได้มากขึ้นอีกด้วย
- กระตุ้นการปรับตัวของผู้บริโภค สู่สังคมไร้เงินสด
ผู้บริโภคสามารถปรับตัวสู่การซื้อสินค้าออนไลน์และการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่มีความสะดวกสบายกว่าได้อย่างดี ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ e-Commerce ที่สามารถเติบโตต่อไปได้จากการปรับตัวนี้เอง
แม่ค้าออนไลน์ที่ไม่ว่าจะขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Social Commerce หรือ e-Marketplace นอกจากการเลือกขายบนช่องทางที่สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างถูกต้องแล้ว การบริการหลังการขายก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าเสริมระบบหลังบ้านให้พร้อมขายในทุกช่องทางกับ Fillgoods ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ จัดสต๊อกและออเดอร์ง่าย เรียกขนส่งสะดวก รับ COD รวดเร็ว เพื่อการขายอย่างคล่องตัวไม่มีสะดุด ขายช่องทางไหนก็รับมือได้ไม่มีเหนื่อย
มีปัญหาเรื่องธุรกิจออนไลน์ อยากใช้ระบบจัดการร้านค้า โทรปรึกษา Fillgoods ฟรี!
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.